การศึกษาต่อเนื่อง


  • การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ
    การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ มี   4  ประเภท คือ
                  1.  การฝึกทักษะอาชีพ  โดยการจัดการศึกษาด้านอาชีพหลักสูตระระยะสั้น เพื่อสนองความต้องการของผู้เรียน ให้มีความรู้และทักษะพื้นฐานในการอาชีพ
                  2.  การเข้าสู่อาชีพ  เป็นการพัฒนากลุ่มเป้าหมายให้สามารถคิด วิเคราะห์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และพัฒนาตนเองเพื่อเข้าสู่อาชีพ
                  3.  กลุ่มพัฒนาอาชีพ เป็นการส่งเสริมความรู้และประสบการณ์แก่กลุ่มที่มีอาชีพประเภทเดียวกัน ให้สามารถพัฒนาปริมาณและคุณภาพผลผลิตเข้าสู่การจำหน่ายมีรายได้ยิ่งขึ้น เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยกระบวนการกลุ่ม
                 4.  การพัฒนาด้วยเทคโนโลยี เป็นการให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายเฉพาะที่ต้องการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาอาชีพและศักยภาพแก่ตนเองและกล่ม

  • การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
    การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตเป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมความรู้ ความสามารถของบุคคลเพื่อให้สามารถจัดการกับตนเองและสิ่งแวดลอ้อม เพื่อให้มีความสุขตามสภาพและความสงบสุข ความลอดภัยในสังคม การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตมีสาระสำคัญ ดังนี้
    1) เป็นการพัฒนาทักษะชีวิตพื้นฐานของบุคคล เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
    2) เป็นการเรียนรู้โดยบูรณาการองค์ความรู้และกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ ในชีวิตประจำวันเข้าด้วยกัน
    3) เป็นการจัดการศึกษาในรูปแบบการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยมุ่งที่จะเสริมสร้างความสามารถให้กับบุคลเพื่อมีทักษะชีวิตในการแก้ปัญหาเฉพาะด้านให้เหมาะสมกับพื้นที่และแต่ละสถานการณ์

  • การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน
    การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน  คือ  การจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้และทักษะจากการศึกษาที่นักเรียนมีอยู่  หรือได้รับจาการเข้าร่วมกิจกรรม  กศน.  โดยมีรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายใช้ชุมชนเป็นฐาน ในการพัฒนาการเรียนรู้และทุนทางสังคมเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนให้เข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

  • การศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการจัดการศึกษาให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความสามารถนำไปถือปฏิบัติในการดำเนินชีวิตได้ กศน.อำเภอแก่งกรจะน ได้มีการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นร่วมกับวิทยากรและชุมชน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่  การทำบัญชีครัวเรือน การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ  การทำเกษตรธรรมชาติ หรือเกษตรผสมผสาน การเลี้ยงกบ  การเพาะเห็ดฟาง เห็ดภูฎาน  การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น ทำให้ผู้รับบริการของ กศน.ได้นำความความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน มีความตระหนักถึงการใช้จ่ายอย่างพอประมาณ  มีเหตุผลในการใช้จ่าย มีภูมิคุ้มกัน เป็นบุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีความสามัคคีในครอบครัว ชุมชน  สามารถสร้างเป็นอาชีพได้ มีรายได้ ลดรายจ่าย มีความเป็นอยู่ดีขึ้น และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข